บริการทันตกรรม

บริการทันตกรรมบดเคี้ยว

ทันตกรรมบดเคี้ยว (OCCLUSION DENTISTRY)

ทันตกรรมบดเคี้ยว คือ การรักษาแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นรักษาการบดเคี้ยวที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกร ซึ่งในปัจจุบันสาเหตุที่พบกันมาก คือ การนอนกัดฟัน (Bruxism)

การนอนกัดฟัน (Bruxism)

คือภาวะที่ผู้ป่วยมีการกัดฟันขณะที่นอนหลับ ซึ่งอาจสังเกตุได้จากหลังจากตื่นขึ้นมีอาการปวดเมื่อยแก้ม หรือคนข้างๆทักว่ามีการกัดฟันขณะนอนหลับซึ่งจะบางรายจะมีเสียงการกัดฟันค่อนข้างดังในขณะที่นอนนั้นแรงกัดจะมีแรงมากกว่าในขณะรู้สึกตัวหลายเท่าทำให้ปัญหาฟันสึก แตกร้าว และเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรได้

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร

ข้อต่อขากรรไกรอยู่บริเวณหน้าหูทั้งสองข้าง เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกขากรรไกรล่าง (condyle) และกระดูกกะโหลกศีรษะ (skull) โดยมีแผ่นรองข้อต่อ (disc) คั่นกลาง ทำให้การเคลื่อนไหวขากรรไกรเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทั้งยังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและเอ็นยึด (ligament) เรีียกโดยรวมว่่า Temporomandibular Joint (TMJ) และเรียกโรคหรืออาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรว่า Temporomandibular Joint Disorder (TMD)

อาการของความผิดปกติของกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร (TMD)

  • ปวดบริเวณข้อต่อ(หน้าหู) และ/หรือ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณกราม แก้ม ใบหน้า ขมับ
  • อ้าปากไม่ขึ้นหรืออ้าได้น้อยลง อ้าแล้วเจ็บ
  • เคยอ้าปากแล้วขากรรไกรค้าง
  • มีเสียงคลิก (clicking) เวลาอ้าปากหุบปาก
  • อ้าปากแล้วเบี้ยว เจ็บเวลาเคี้ยวอาหาร
  • บางรายอาจมีอาการเจ็บในหู ปวดศีรษะหรือ migraines ร่วมด้วย

สาเหตุของ TMD ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

  • การสบฟันที่ผิดปกติ (malocclusion)
  • การเสียสมดุลของระบบบดเคี้ยว เช่น การถอนฟันกรามออกโดยไม่ได้ใส่ฟันทดแทน ทำให้ฟันข้างเคียงและฟันตรงข้ามเคลื่อนมาสู่ช่องว่างนี้ ทำให้เกิดการสบกระแทก ส่งแรงที่ผิดปกติสู่ข้อต่อขากรรไกร
  • อุบัติเหตุบริเวณข้อต่อขากรรไกร
  • เคี้ยวอาหารข้างเดียวทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุลกัน
  • ชอบเคี้ยวอาหารแข็ง เหนียว เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ
  • นอนกัดฟัน (bruxism)
  • ความเครียด

โดยปกติเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ กระดูกขากรรไกรล่าง (condyle) จะเคลื่อนที่ไปพร้อมกันแผ่นรองข้อต่อจึงไม่มีเสียงดังเกิดขึ้น แต่เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น แผ่นรองข้อต่อจะถูกดันไปด้านหน้าแต่ข้อต่อขากรรไกรล่าง (condyle) จะถูกดันไปด้านหลัง เมื่ออ้าปาก condyle จะกระโดดขึ้นมาอยู่บน disc ทำให้เกิดเสียง (clicking) และเมื่อหุบปาก condyle จะถูกดันลงจาก disc เกิดเสียงดังอีกคร้ังหน่ึง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจเกิดความเสื่อมในข้อต่อขากรรไกร (internal Derangement) ไปในระดับที่รุนแรงมากขึ้น

หากมีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสม เช่น การใส่เฝือกสบฟัน (Occusal Splint) ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองก่อนมาพบทันตแพทย์ได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว กรอบ งดเคี้ยวหมากฝรั่ง เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้างๆหรือกัดอาหารคำใหญ่ๆ
  2. หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อทำให้อ้าปากได้น้อย (1-2 นิ้วของผู้ป่วย) โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า ให้ใช้นิ้วชี้-กลาง-นาง ทำการนวดกดจุดที่ปวด 15-30 นาที สลับประคบด้วยผ้าร้อนและเปียก 15-20 นาที จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้อ้าปากได้กว้างขึ้นก่อนมาพบทันตแพทย์

จุดเด่นของบริการด้านทันตกรรมบดเคี้ยวของคลินิกทันตกรรมดิไอวรี่

  • ทีมทันตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพและมากประสบการณ์
  • ห้องทันตกรรมและกรรมวิธีการรักษามาตรฐานระดับสากล สะดวกสบาย
  • วัสดุที่มีคุณภาพสูง เทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมืออันทันสมัย ได้รับการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน ช่วยให้การให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด
  • การให้บริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว เน้นความพึงพอใจของลูกค้า
  • ค่ารักษาบริการ คุ้มค่าการรักษา

ระยะเวลาการรักษาทันตกรรมบดเคี้ยว

ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับทันตแพทย์เป็นผู้พิจารณาว่าควรได้รับการรักษาาด้วยวิธีใด ซึ่งที่พบได้บ่อยคือการใส่เฝือกสบฟัน ซึ่งจะต้องมีการพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้ง เพื่อทำการพิมพ์ปาก และหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 อาทิตย์จึงมาใส่เฝือกสบฟันและปรับแก้ไข และอาจจะต้องมีการนัดเพิ่มเติมเพื่อดูอาการซึ่งทางคลินิกทันตกรรมดิไอวรี่มุ่งมั่นให้บริการที่รวดเร็วทันใจ เพื่อให้ท่านได้รับการรักษาได้เร็วที่สุด

คำถามที่พบบ่อย

 
    ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรคืออะไร หรือ TMJ (temporomandibular joint disorder) หมายถึง ข้อต่อระหว่างขากรรไกรบนและล่างไม่สามารถทำงานอย่างที่ควรโดยข้อต่อนี้เป็นจุดที่มีความซับซ้อนมากที่สุดจุดหนึ่งในร่างกายของเรา มีผลต่อการเคลื่อนขากรรไกรล่างไปข้างหน้า หลัง และด้านข้าง ปัญหาใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ระบบของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรทำงานไม่ปกติ เราจะเรียกว่า ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกว่ากระดูกขากรรไกรของเรามีการเคลื่อนที่ หรือติดค้างในชั่วขณะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหาสาเหตุไม่ได้
    แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอนสำหรับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร แต่ก็ยังมีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยลดอาการได้อย่างมาก ซึ่งทันตแพทย์อาจแนะนำดังต่อไปนี้
  • การพยายามลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ แอสไพริน หรือยาแก้ปวดอื่น ๆ หรือยาแก้อักเสบ
  • การลดผลกระทบที่อันตรายเช่น การเกร็งและการกระทบ ด้วยการใส่อุปกรณ์ที่ป้องกันการกระทบของฟันบนและล่าง
  • การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายเพื่อควบคุมความตึงเครียดของกล้ามเนื้อในขากรรไกร ทันตแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการฝึกเพื่อความเครียด
  • ถ้าข้อต่อขากรรไกรได้รับผลกระทบ และวิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล การผ่าตัดขากรรไกรอาจเป็นทางเลือก
    เฝือกสบฟัน หรือ Occlusal Splint คือ เครื่องมือที่ใช้ใส่ในช่องปากเพื่อป้องกันการสึกของฟันมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดนุ่มและชนิดแข็ง เมื่อใช้เฝือกสบฟันชนิดนุ่มไปนานๆ อาจฉีกขาดได้ ส่วนเฝือกสบฟันชนิดแข็ง เมื่อใช้สักระยะอาจเกิดรอยสึก ซึ่งควรนำไปปรับแต่งกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
    ฟันยางช่วยไม่ให้นอนกัดฟัน เป็นสาเหตุของฟันสึก กร่อน ควรจะต้องมีการเปลี่ยนหลังจากการใช้ทุกครั้งเพราะว่าจะมีการเสื่อมไปทุกครั้งที่ ใส่และทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การเปลี่ยนฟันยางมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะ ในวัยรุ่น เนื่องจากปากและฟันมีการเติบโตตลอดเวลา นักกีฬาหลายคนมักจะสั่งทำฟันยาง ทุกๆ 6 เดือนที่ไปทำการตรวจฟัน ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานด้วยน้ำสะอาด เก็บในกล่องหรือภาชนะ ที่มีสำลีชุบน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันเครื่องมือผิดรูป หรือแตกง่าย สามารถทำความสะอาดร่วมกับการใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม เพื่อขจัดคราบฝังแน่น
    คลินิกทันตกรรมดิไอวรี่ มีทันตแพทย์เฉพาะทางในการให้คำปรึกษาผู้ที่ประสบปัญหา การบดเคี้ยวที่เกิดจากหลายๆสาเหตุ
    เฝือกสบฟันเหมาะสมกับผู้ที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรบางประเภท เช่น
  • มีนิสัยนอนกัดฟัน หรือขบเน้นฟันในเวลากลางวัน
  • มีการใช้งานกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรได้
  • มีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
  • มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร