บริการทันตกรรม

บริการเอ็กซเรย์ฟัน

การเอ็กซเรย์ฟันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการวางแผนดูแลสุขภาพช่องปาก และพบได้ค่อนข้างบ่อย เพราะทุกคนที่เคยไปหาหมอฟันหรือนักทันตสุขอนามัยก็น่าจะเคยเอ็กซ์เรย์ฟันมาแล้ว ดังนั้น หากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกเล็กน้อย ก็จะมีประโยชน์มาก

ขั้นตอนการเอ็กซ์เรย์ฟัน

การเอ็กซ์เรย์ฟันมักทำในคลินิกของทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม อันดับแรก ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมจะให้คุณสวมเสื้อคลุมตะกั่วหนัก ๆ เพื่อปกป้องร่างกายของคุณจากรังสี จากนั้นผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมที่มีใบอนุญาตจะสอดเครื่องมือพลาสติกเข้าไปในช่องปากและขอให้คุณกัดเครื่องมือดังกล่าวไว้เพื่อให้ฟิล์มเอ็กซ์เรย์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์บริเวณที่กำหนด ในขั้นตอนนี้ คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ และจะมีการถ่ายภาพซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ภาพทั่วช่องปาก

ทำไมต้องถ่ายเอ็กซ์เรย์

จุดประสงค์หลักของการเอ็กซ์เรย์คือ ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรค การเอ็กซ์เรย์ฟันช่วยให้ทันตแพทย์มองเห็นปัญหาฟันหลายชนิด รวมถึงความเสียหายของกระดูก ฟันบาดเจ็บ และฟันผุด้วย ซึ่งนอกจากจุดประสงค์ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคแล้ว การเอ็กซ์เรย์ฟันยังเป็นเครื่องมือที่ประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษา ผู้ป่วย

การเอ็กซ์เรย์ประเภทต่าง ๆ ที่พบบ่อย

ทันตแพทย์ใช้การเอกซ์เรย์หลายแบบด้วยกัน และจะเลือกโดยพิจารณาจากประเภทการรักษาของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ต่อไปนี้คือการเอกซ์เรย์ที่ใช้บ่อยที่สุด

  • เอ็กซ์เรย์ฟันเฉพาะซี่: แสดงภาพของฟันทั้งซี่ตั้งแต่ตัวฟันจนถึงกระดูกที่พยุงฟัน
  • การเอ็กซ์เรย์ฟันกรามด้านใน: แสดงภาพของฟันซี่ในทั้งบนและล่าง นอกจากนี้ยังช่วยให้แพทย์มองเห็นว่าฟันแต่ละซี่สัมผัสอย่างไรด้วย
  • การเอ็กซ์เรย์แบบพาโนรามิก: แสดงภาพของฟัน กระดูกขากรรไกร โพรงจมูก ไซนัส และข้อต่อขากรรไกร มักนำมาใช้กับผู้ที่อาจจำเป็นต้องจัดฟัน
  • การเอ็กซ์เรย์การสบฟัน: แสดงภาพของช่องปากอย่างชัดเจนเพื่อช่วยหาว่ามีฟันเกินหรือฟันที่ยังไม่หักอยู่ในเหงือกหรือไม่
  • บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

คำถามที่พบบ่อย

 
    การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน นั้น การถ่ายภาพเอ็กซเรย์เพื่อการจัดฟันมีความสำคัญมาก
  • 1. ใช้ในการวางแผนการรักษา
  • 2.ใช้ในการอ้างอิงข้อมูล ว่าเริ่มต้น การรักษาเป็นอย่างไรระหว่างรักษาเป็นอย่างไร เพราะการจัดฟัน ฟันของเราจะ เคลื่อนที่ตลอด เราต้องมีข้อมูลตั้งต้นไว้พิจารณาการเปลี่ยนแปลง
  • 3. ใช้ประเมินผลการรักษาภาพเอ็กซเรย์ที่ใช้สำหรับวางแผนรักษาจัดฟัน ต้องมีอย่างน้อย 2 ฟิล์ม Lateral Cephalometrics และ Panoramic
  • Lateral Cephalometrics เป็นภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง จากภาพนี้ ข้อมูลที่ได้ เราจะเห็น ลักษณะกะโหลกศีรษะ ฐานกะโหลกศีรษะ ลักษณะกระดูกขากรรไกรบนและ ล่าง ลักษณะการเอียงของฟันบนและล่าง ลักษณะของเนื้อเยื่ออ่อน เช่น มุมของริมฝีปาก ซึ่งจากลักษณะต่างๆ จะนำมาดูความสัมพันธ์กัน เช่น ดูว่ากระดูกขากรรไกรบน/ล่าง สัมพันธ์กันอย่างไร ฟันบน/ล่าง ทำมุมกันอย่างไร แนวแกนฟันบนที่สัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกรบน เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จะนำมาดูร่วมกับที่หมอตรวจในคลินิก
  • Panoramic เป็นภาพถ่าย พาโนรามาของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง จากภาพนี้ข้อมูลที่ได้ เช่น ลักษณะกระดูกขากรรไกรบน/ล่าง ความยาวรากฟัน ลักษณะกระดูกหุ้มรากฟัน เนื่องจากการจัดฟันต้องเคลื่อนฟันอยู่ในกระดูกส่วนนี้จึงสำคัญมาก นอกจากนี้ก็ใช้ดู ฟันคุด ฟันเกิน บางคนอาจมีฟันเกินคุดอยู่ในกระดูก ซึ่งอาจขัดขวางการเคลื่อนฟันได้ เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เช่น ภาพกะโหลกศีรษะด้านหน้า-หลัง ภาพถ่ายกระดูกข้อมือเพื่อประเมินอายุการเจริญเติบโด
    3D Scan มิติ มาใช้ ถ่ายเอ็กซเรย์สามมิติ
  • เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน ทั้ง3 มิติ สามารถมองเห็นทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง และความลึกได้
  • ทั้งในส่วนของกระดูก ฟัน เส้นประสาท โพรงไซนัส และสามารถมองเห็นบางส่วนของเนื้อเยื่อ
  • เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมิน ก่อนการรักษา การเฝ้าระวัง และติดตามผลหลังการรักษา งานทันตกรรมจัดฟัน และงานทันตกรรมรากเทียม
    ในระหว่างที่ทำการเอกซเรย์ในช่องปาก ผู้ป่วยต้องถอดโลหะบริเวณใบหน้าและภายใน ช่องปากเช่น แว่นตา เครื่องมือถอดได้ในช่องปาก อาทิฟันเทียมถอดได้ เครื่องมือจัดฟัน ชนิดถอดได้ เครื่องมือคงสภาพฟันเป็นต้น หากเป็นการเอกซเรย์นอกช่องปาก ผู้ป่วยต้อง ถอดสร้อยคอ ต่างหู กิ๊บติดผมออก เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมาบดบังลักษณะของกระดูกและฟัน ขณะทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งที่สุดจนกว่าเสียงสัณญาณของเครื่องเอกซเรย์จะหยุด
    รังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันคือรังสีเอกซ์ (X-ray) ซึ่งเป็นรังสีชนิดเดียวกับการเอกซเรย์ ทางการแพทย์ ส่วนปริมาณรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันนั้นค่อนข้างน้อยมากโดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับปริมาณรังสีที่ใช้เอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยในทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามควร เอกซเรย์ฟันเท่าที่จำเป็นตามที่ทันตแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรและเมื่อผู้ป่วยมารับการ เอกซเรย์ฟัน เจ้าหน้าที่จะต้องสวมเสื้อและปลอกคอกันรังสีให้กับผู้ป่วยทุกครั้งอย่างไรก็ดี ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากอย่างง่ายด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งให้ สะอาดร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน และควรมารับการตรวจฟันเป็นประจำ ทุก 6 เดือน – 1 ปี
    ภาพเอกซเรย์เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยทันตแพทย์ในการให้การวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษา ตลอดจนการติดตามผลการรักษา ภาพเอกซเรย์ฟันจึงมักใช้ประกอบการรักษาทางทันตกรรมต่างๆ
  • การเอกซเรย์ฟันเพื่อถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
  • การเอกซเรย์เพื่อตรวจดูรอยผุของฟันด้านประชิด
  • การเอกซเรย์ฟันเพื่อการรักษารากฟัน
  • การเอกเรย์ฟันเพื่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  • การเอกซเรย์ฟันเพื่อการจัดฟัน