ฟันคุด
รักษาผ่าฟันคุดในราคาคุ้มค่า ปลอดภัย
ฟันคุดคือ ?
ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ และมักฝังตัวอยู่ที่ขากรรไกรใต้เหงือกบริเวณกรามซี่ที่สาม ซึ่งเป็นฟันซี่ที่อยู่ด้านในสุด โดยฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยปกติแล้วฟันคุดที่เกิดขึ้นอาจโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเมื่อโตขึ้นได้ แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดแรงดันหรือปวดตุบๆ ที่บริเวณฟันคุดจนอาจทำให้ต้องผ่าตัดเพื่อนำออก โดยในปัจจุบันอัตราค่าบริการสำหรับการถอนฟันคุดจะมีราคาที่เหมาะสม และไม่แพงอย่างที่หลายๆ คนคิด
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ? ?
คนไข้บางท่านอาจเกิดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายของการผ่าฟันคุดว่ามีราคาสูง รวมถึงอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหลังจากการผ่าตัด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การผ่าตัดฟันคุดนั้น ทันตแพทย์จะพิจารณาอาการเป็นรายบุคคล ซึ่งการผ่าฟันคุด จะเป็นการผ่าตัดนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออกไป โดยทั่วไปแล้วหากฟันที่ฝังตัวอยู่ไม่ก่ออาการรุนแรงจนเกินไป ทันตแพทย์จะทำรักษาด้วยการตกแต่งเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือแนะนำในเรื่องการรักษาความสะอาดช่องปากแก่ผู้ป่วยแทน รวมถึงแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีการแปรงฟัน และให้ผู้ป่วยใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดที่ซอกฟันด้านหน้าและด้านหลังของฟันคุด ซึ่งจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพที่ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเหงือกอักเสบ หรือการติดเชื้อบริเวณรอบๆ ฟันคุดได้ ในกรณีที่ฟันคุดก่อให้เกิดปัญหา หรือผลเอกซเรย์แสดงให้เห็นว่าส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆ อย่างชัดเจนก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก
สาเหตุที่ต้องผ่าฟันคุดออกทันที ?
สาเหตุที่ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าฟันคุดทันทีมีอยู่หลากหลายเหตุผลดังนี้
- ฟันคุดที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อฟันบริเวณข้างเคียงได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดภายในช่องปาก หรือปัญหาในการกัดได้
- ฟันคุดอาจก่อให้เกิดถุงน้ำรอบๆ แล้วอาจทำให้บริเวณขากรรไกรนั้นถูกทำลายจนเป็นหลุมและทำลายเส้นประสาทที่บริเวณขากรรไกรได้
- เกิดปัญหาที่ไซนัส ฟันคุดสามารถก่อให้เกิดอาการปวด แรงดัน หรืออาการบวมที่ไซนัส
- เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ฟันคุดเกิดการอักเสบ จะทำให้เกิดอาการบวมและยากต่อการทำความสะอาด
- อาการเหงือกบวมจากฟันคุดจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน และทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโต และก่อให้เกิดฟันผุตามมา
- ฟันคุดสามารถส่งผลต่อการจัดฟัน จนทำให้ผลลัพธ์จากการจัดฟัน ครอบฟัน หรือการใช้ฟันปลอมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
จะทราบได้อย่างไรว่าต้องผ่าฟันคุด ?
ปัญหาฟันคุดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงต้องใช้การเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบฟันคุด สำหรับบางรายอาจมีอาการปวดฟันร่วมด้วย หากเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อทำการตรวจสอบช่องปากและเมื่อตรวจพบฟันคุด จะทำการเอกซเรย์โดยละเอียดเพื่อดูตำแหน่งของฟันคุด หากทันตแพทย์พบปัญหาที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากจะทำการแนะนำให้ถอน หรือผ่าออกทันที
จะรู้ได้ไงว่าต้องถอนฟันคุด หรือ ผ่าฟันคุด?
ทันตแพทย์จะดูจากผลการเอกซเรย์ว่าฟันคุด มีลักษณะอย่างไร หากฟันคุดโผล่ขึ้นจากเหงือกมีลักษณะขึ้นตรงไม่นอน ก็จะพิจารณาให้ถอน แต่หากมีลักษณะเอียงหรือนอน หรือยังไม่โผล่ขึ้นจากเหงือก ก็จะพิจารณาให้ใช้วิธีการผ่าออก หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาหรือข้อสงสัยในการผ่าตัดฟันคุด รวมไปถึงราคาค่าบริการ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ The Ivory Dental Clinic โทร. 02-275-3599 ทุกวัน (เวลา 10.00-20.00 น.) หรือสามารถติดต่อได้ทาง LINE: @theivorydental
ฟันคุดแบบไหนผ่ายาก?
ระดับความซับซ้อนของผ่าฟันคุด ขึ้นอยู่กับมีลักษณะ เช่น ไม่พ้นกระดูก ต้องกรอกระดูกเยอะ มองไม่เห็น และรากฟันชิดกับเส้นประสาท
ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด ?
การผ่าฟันคุดถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สำหรับสตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 อาจจะหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปจนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา สำหรับผู้ป่วยโรคร้ายแรงประเภทอื่นๆ จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยเป็นรายบุคคล และต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหลังการผ่าตัด
วิธีการผ่าตัด
การผ่าฟันคุดมีราคาบริการที่ไม่สูงมากอย่างที่ใครหลายๆ คนคิด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดจำเป็นต้องใช้ยาชาเพื่อระงับอาการเจ็บปวดและช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้ง่ายขึ้น
- ยาชาเฉพาะที่ จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปยังจุดใกล้เคียงบริเวณที่ผ่าตัด ขั้นต่ำเพียง 1 เข็ม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย โดยการใช้ยาชาเฉพาะจุดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด แต่จะไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่ผ่าตัด จะมีเพียงความรู้สึกถึงแรงดันหรือการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ภายในช่องปาก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การผ่าฟันคุดในปัจจุบันมีราคาที่ไม่สูงมาก เพราะเป็นการผ่าตัดที่สามารถทำได้โดยมักไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ ทั้งนี้ก่อนการผ่าตัดทางโรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมจะนัดวันพร้อมกับการแนะนำถึงการปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการผ่าตัด
การดูแลรักษาหลังการผ่าตัด
การผ่าฟันคุดในราคาที่คุ้มค่า ที่มาพร้อมกับความปลอดภัย และความเชี่ยวชาญด้านการรักษาของทันตแพทย์ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จ ทั้งนี้หากในการผ่าฟันคุดมีแผลที่ต้องเย็บ ทันตแพทย์จะใช้ไหมละลายในการเย็บบริเวณแผล ไหมชนิดนี้จะละลายไปตามธรรมชาติพร้อมๆ กับการสมานตัวของปากแผลภายในเวลาประมาณ 3-5 วัน หลังจากการผ่าตัดแพทย์อาจใส่ผ้าก๊อซไว้ที่บริเวณปากแผลและให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดและเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นภายใน ซึ่งจะช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรนำออกหากเลือดยังไม่หยุดไหล ทั้งนี้แผลผ่าฟันคุดจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะเป็นปกติ ซึ่งการดูแลตัวเองที่ดีจะทำให้การรักษาอาการหลังผ่าตัดฟันคุดปลอดภัยคุ้มกับราคาที่จ่ายไป
โดยในระหว่างการพักฟื้นผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- อาการบวมภายในช่องปากและแก้ม อาการบวมนี้จะค่อนข้างรุนแรงในช่วงวันแรก ๆ หลังจากผ่าตัด จากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งสามารถประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวมได้
- อาการเจ็บบริเวณขากรรไกร อาการจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 7-10 วัน แต่เหงือกบริเวณขากรรไกรจะยังคงมีรอยช้ำต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์
- อาการปวด หากการผ่าฟันคุดมีความซับซ้อนก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดค่อนข้างมาก
- รู้สึกถึงรสชาติไม่พึงประสงค์ภายในช่องปาก อาทิ รสชาติคาวเลือดที่ออกจากแผลซึ่งยังคงตกค้างอยู่
- อาการเจ็บแปลบ ๆ หรือชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นจากยาชาที่ตกค้าง หรือเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่บริเวณปลายประสาท
หลังจากได้ทำการชำระค่าบริการสำหรับการถอนฟันคุดตามราคาที่กำหนดไว้แล้ว ในระหว่างการพักฟื้นและรักษาตัว ช่วงวันแรกๆ จะไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ แต่อย่างไรก็ควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน อาจรับประทานที่เคี้ยวง่าย หรือ อาหารเหลว ควรหลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะการออกแรงดูดอาจจะทำให้การหายของแผลไม่เป็นไปตามปกติ รวมถึงงดการรับประทานอาหารร้อนหรือรสจัด ก็จะช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น และเมื่อแผลเริ่มสมานตัวแล้วจึงเริ่มสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้แต่ก็ควรเคี้ยวช้าๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน ซึ่งการจะกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกตินั้น จะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองด้วยว่ารู้สึกดีขึ้นแล้วหรือยัง
หากในระยะการพักฟื้นหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์
- มีไข้
- กลืนไม่ได้
- หายใจลำบาก
- มีเลือดออกมากผิดปกติ
- มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน
- เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง
สอบถามหรือนัดหมายเข้ารับบริการได้ที่ คลินิกทันตกรรม ดิไอวรี่
โทร. 02-275-3599 ได้ทุกวัน (ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.) หรือสามารถติดต่อได้ทาง LINE: @theivorydental