รากเทียมเล็กรองรับฟันปลอมทั้งปาก
รากฟันเทียมขนาดเล็ก Mini Implants
การปลูกรากเทียมขนาดเล็กเพื่อรองรับฟันปลอมทั้งปาก Over Denture on Mini Implants
เพื่อรองรับฟันปลอมทั้งปาก ช่วยลดข้อจำกัดในการปลูกรากเทียมของผู้สูงอายุ เนื่องจากมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถปลูกรากเทียมบนกระดูกขากรรไกรที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ รากเทียมขนาดเล็กตัวรากเทียมทำมาจากวัสดุไทเทเนียม เหมือนรากเทียมทั่วไป ที่ผ่านมาตรฐาน FDA จากสหรัฐอเมริกา และ อย. ประเทศไทย ฟันปลอมสามารถถอนทำความสะอาดได้
การเติมกระดูก เป็นอย่างไร ?
ในสันเหงือกที่แคบ ก่อนที่เราจะฝังรากฟันเทียมลงไปนั้น จะต้องเติมชิ้นกระดูกลงไปเสียก่อน ในกรณีที่หลงเหลือรอยกระดูกที่ต้องเติมเล็กน้อย ก็อาจใช้เศษกระดูก หรือ กระดูกสังเคราะห์
บ่อยครั้งที่ความสูงหรือความกว้างของกระดูกขากรรไกรนั้นลดลงจากปรากฎการณ์ละลายของกระดูกตามธรรมชาติ คงเหลือแต่กระดูกที่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการรองรับรากฟันเทียม กรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการเติมกระดูก ซึ่งอาจทำก่อนหรือขณะที่ทำการฝังรากฟันเทียมก็ได้ วัสดุที่ดีที่สุดสำหรับการเติมกระดูก ก็คือ กระดูกของตัวผู้ป่วยเองซึ่งสามารถเอามาจากกระดูกขากรรไกรล่างของตัวผู้ป่วยนั่นเอง ในกรณีที่ต้องการกระดูกในปริมาณมากๆ จะต้องใช้จากแหล่งภายนอกช่องปาก เช่น จากกระดูกสะโพก เป็นต้น การปลูกกระดูกในกรณีเช่นนี้ จะใช้กระดูกเป็นชิ้น แล้วยึดติดที่บริเวณที่ต้องการเติมด้วยสกรูไทเทเนียม หรืออาจบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาไว้บริเวณที่ต้องการเติม แล้วคลุมไว้ต้องแผ่นเมมเบรนบางๆ ทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือน กระดูกที่เติมลงไปก็จะเชื่อมติดกับกระดูกที่บริเวณนั้น จากนั้น ก็ทำการฝังรากฟันเทียมได้
สำหรับร่องรอยที่กระดูกไม่เพียงพอเพียงเล็กน้อยนั้น สามารถใช้กระดูกสังเคราะห์ (เช่น BioOss) มาเติมได้ ภายใน 6-12 เดือน กระดูกสังเคราะห์และกระดูกจริงในบริเวณนั้นก็จะเชื่อมติดกันได้ ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่ต้องทำการเอากระดูกมาจากแหล่งอื่นๆ ในตัวผู้ป่วยเองแต่อย่างใด
ใส่รากฟันเทียมอย่างไร ?
ต้องมีการวางแผนการรักษาที่ดีและครอบคลุมก่อนในขั้นแรก ภาพถ่ายรังสีและแบบจำลองฟันที่ได้จากการพิมพ์ปากจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินปริมาณกระดูกในแง่ของความกว้างและลึก ดังนั้น จะสามารถวางแผนสำหรับเลือกขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมได้
การทำรากฟันเทียม เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อคนไข้ได้ การใช้ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ (ก๊าซหัวเราะ) หรืออาจเป็นยาสงบประสาท อาจถูกนำมาใช้ได้ในบางกรณี ต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและสบายขึ้น
ในการทำรากฟันเทียมที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น เช่น ในกรณีที่มีการเติมปริมาณกระดูก อาจพิจารณาใช้การดมยาสลบสำหรับคนที่กลัวการทำฟันมากๆ ได้ โดยจะต้องอาศัยบุคคลากรที่ชำนาญการโดยเฉพาะ
เมื่อเหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึก (ชา) ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือออกอย่างระมัดระวัง แล้วกรอกระดูกจนมีขนาดพอเหมาะกับรากฟันเทียมที่เลือกไว้ แล้วใส่รากฟันเทียม (เฉพาะในส่วนของราก) ลงไป จากนั้น ก็จะเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้ รอเวลาให้แผลหาย โดยในระหว่างนี้ อาจมีฟันปลอมให้ใช้งานไปก่อนได้ แล้วแต่กรณี