การฟอกสีฟัน การฟอกฟันขาว
ฟอกสีฟันช่วยคุณได้อย่างไร?
น้ำยาฟอกสีฟัน จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และเมื่อสัมผัสกับผิวฟัน น้ำยานี้จะค่อยๆซึมเข้าไปทำปฏิกิริยากับสีแปลกปลอมที่ผิวฟัน เปลี่ยนให้เป็นสีขาวกระจ่างขึ้น และถ้าได้รับการกระตุ้นด้วยแสงเย็นสีฟ้า (Cool light) การเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ผิวฟันสีขาว จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
ใช้เวลาในการฟอกสีฟันนานเท่าไหร่?
– การฟอกสีฟันที่คลินิกโดยใช้แสงเย็น (Cool light system in office Bleaching) ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ก็สามารถเปลี่ยนสีฟันให้ขาวขึ้นได้
– หมายเหตุ เวลาในการฟอกของแต่ละเคส จะแตกต่างกัน ขึ้นกับความเข้มของสีฟันเริ่มต้น ทั้งนี้ต้องปรึกษาทันตแพทย์ของท่าน และต้องปฏิบัติตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
หลังฟอกสีฟันแล้วฟันจะขาวถาวรหรือไม่?
การฟอกสีฟันเป็นเพียงการทำให้ฟันขาวเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูและรักษาสุขภาพฟันเฉพาะบุคคล
ข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับการฟอกสีฟัน
มีการบูรณะฟันหน้าด้วยวัสดุต่างๆ
กรณีที่มีการบูรณะฟันหน้าด้วยวัสดุเรซิน เซรามิก หรือได้รับการทำครอบฟัน สะพานฟันและเคลือบผิวฟันแล้วนั้น การฟอกสีฟันจะไม่สามารถเปลี่ยนสีของวัสดุดังกล่าวได้ ดังนั้นหลังการฟอกสีฟัน ผู้เข้ารับบริการอาจต้องเข้ารับการเปลี่ยนวัสดุดังกล่าวให้มีสีเหมือนฟันที่ขาวขึ้น
ฟันที่บอบบางเกิดอาการเสียวฟันได้ง่าย หรือมีอาการแพ้สารเพอร์ออกไซด์
สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟันได้ง่ายอยู่ก่อนแล้วซึ่งอาจเกิดจากปัญหาเหงือกร่น ฟันสึก หรือเกิดจากการรั่วของวัสดุที่อุดฟัน เป็นต้น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง รวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้สารประเภท ไฮโดตเจนเพอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการฟอกสีฟัน อาการเสียวฟันที่เกิดจากการฟอกสีฟันนั้น เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้เข้ารับบริการบางท่าน ซึ่งอาการดังกล่าวจะลดลงและสามารถหายได้เองภายใน 1 – 4 วัน
ฟันตกกละหรือมีสีเทาที่เป็นผลข้างเคียงจากยาประเภทเตตร้าไซคลีน
สำหรับผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาฟันตกกละหรือมีสีเทาอันเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะประเภทเตตร้าไซคลีน หรือด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์อาจช่วยปรับระดับสีฟันได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาฟันสีเทาให้ขาวตามธรรมชาติได้
คอฟันมีสีเหลืองหรือน้ำตาล
การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เนื่องจากทันตแพทย์จำเป็นต้องทำการป้องกันการโดนน้ำยาฟอกสีฟันบริเวณคอฟันและเหงือกด้วยน้ำยาพิเศษ
สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้น้ำนมบุตรเข้ารับการฟอกสีฟัน แม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องผลข้างเคียง
ข้อต่อขากรรไกรมีปัญหา
สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านขากรรไกร ทันตแพทย์อาจทำการฟอกสีฟันด้านบน หรือ ล่างก่อน แล้วจึงฟอกด้านที่เหลือหลังจากการหยุดพัก เพื่อความสะดวกสบายของผู้เข้ารับบริการ
โรคเหงือกและฟันผุ
ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกหรือมีฟันผุ อาจต้องเข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวก่อนเข้ารับการฟอกสีฟัน
ความคาดหวังจากการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์
ไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ได้จากการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสีฟันขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคลที่มีปฏิกิริยาต่อน้ำยาฟอกสีฟันที่แตกต่างกัน ซึ่งบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก
การฟอกสีฟันไม่สามารถแก้ไขปัญหาสีฟันที่ผิดปกติบางประเภทเช่น ฟันตกกระที่เกิดจากผลข้างเคียงของยาประเภทเตตร้าไซคลีน และระดับของการเปลี่ยนของสีฟันจากการฟอกสีฟันด้วย Zoom นั้นจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของแต่ละคนที่มีกับน้ำยาฟอกสีฟัน
(เพิ่มเติม…)