Q&A เหงือกบวม ปวดฟันกราม รวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้

ใครหลายคนคงเคยประสบปัญหาปวดฟัน ปวดเหงือก ซึ่งเป็นอาการที่สร้างความรำคาญและส่งผลต่อชีวิตประจำวันไม่น้อย แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงปัญหาเหงือกบวมเป็นหนอง ปวดฟันกราม ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง วันนี้เรามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับปัญหาเหงือกและฟันกันแบบครบถ้วนผ่านบทความ Q&A นี้กันเลย
เหงือกที่ดี (Healthy Gums) มีลักษณะอย่างไร ?
เหงือกที่แข็งแรง เป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพฟันที่ดี เหงือกที่สมบูรณ์จึงควรมีสีชมพูอมแดง ไม่ซีดหรือแดงจัด เนื้อเหงือกจะแน่น ไม่บวมหรือนิ่ม เมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน จะไม่มีเลือดออก และไม่มีอาการเจ็บปวดหรือรู้สึกระคายเคือง หากเหงือกของคุณมีลักษณะเหล่านี้ แสดงว่าคุณกำลังดูแลสุขภาพช่องปากได้เป็นอย่างดี แต่ในทางกลับกันหากเหงือกบวมเป็นหนอง ปวดฟันกราม แสดงว่าคุณอาจกำลังเผชิญหน้ากับโรคปริทันต์ที่ต้องให้ทันตแพทย์รักษาก็เป็นได้
เหงือกบวมเกิดจากอะไร และมีลักษณะอย่างไร ?
อาการปวดเหงือกด้านในสุด เหงือกบวม หรือเริ่มมีอาการเหงือกเป็นตุ่ม มีความนิ่มผิดปกติ อาจสันนิษฐานได้ว่าคุณกำลังเจอภาวะเหงือกอักเสบ ปัญหายอดนิยมของช่องปากและฟัน โดยสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้
- เหงือกบวมจากกระดูกงอก : เกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์
- เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา : ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดอาการบวมที่เหงือก หากมีการใช้ยารักษาโรคและเกิดอาการดังกล่าวในช่วงระยะเวลานั้น ๆ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการปรึกษาและเปลี่ยนตัวยาให้เหมาะสม
- เหงือกบวมจากการถูกระคายเคืองเป็นเวลานาน : อาจเกิดจากการแปรงฟันแรง หรือใช้แปรงสีฟันที่แข็งเกินไป จนทำให้เหงือกอักเสบและบวมได้
- เหงือกบวมจากโรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกอักเสบ : เกิดจากการทำความสะอาดช่องปากและฟันไม่ทั่วถึง จนเกิดคราบแบคทีเรียสะสม ติดเชื้อ ทำให้เหงือกบวมเป็นหนองและลุกลามได้
- เนื้องอกในหญิงมีครรภ์ : ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหงือกได้
- เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็ก ๆ มีหนองไหลผ่านออกมา : อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่รุนแรง ควรพบทันตแพทย์โดยเร็ว
- เหงือกบวมจากฟันคุด : โดยจะมีอาการปวดเหงือกด้านในสุด ซึ่งเกิดจากการที่ฟันกรามซี่สุดท้ายกำลังขึ้น หรือขึ้นไม่เต็มซี่จนเกิดช่องว่างทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรีย จนนำไปสู่อาการเหงือกบวม เจ็บ และอักเสบได้
- ก้อนมะเร็ง : แม้จะพบได้น้อย แต่ก้อนที่เหงือกอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งช่องปาก ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ และทำการรักษาให้ทันท่วงที
สัญญาณของเหงือกอักเสบ
- รู้สึกเจ็บหรือไม่สบายบริเวณเหงือก สัญญาณต้น ๆ ที่บ่งบอกว่าเหงือกบวม และกำลังติดเชื้อ
- เหงือกมีสีแดงคล้ำหรือม่วง ซึ่งสีที่เปลี่ยนไปนี้บ่งบอกถึงการอักเสบและการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ
- เหงือกบวมและนิ่ม เป็นผลมาจากการตอบสนองต่อการติดเชื้อในบริเวณนั้น ๆ
- มีเลือดออกง่ายเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เนื่องจากเหงือกที่อักเสบจะมีความบอบบาง จึงทำให้เลือดออกได้แม้ใช้แรงเพียงเล็กน้อย
- มีกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียและการติดเชื้อภายในช่องปาก
เหงือกบวมอักเสบกี่วันหาย ?
โดยปกติทั่วไปแล้ว การพักฟื้นของเหงือกจะมีหลายระยะเวลาด้วยกัน ถ้าเป็นในช่วงเริ่มต้น อาการไม่ได้รุนแรงมากนัก รักษาได้ด้วยการขูดหินปูนก็จะใช้เวลาอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์จึงหาย แต่ถ้าหากมีอาการเหงือกบวมเป็นหนอง ปวดฟันกรามในขั้นรุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัด ก็อาจจะใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้น 3-4 สัปดาห์
หากพบว่าเหงือกบวม ควรรักษาอย่างไร ?
การดูแลสุขภาพเหงือก เป็นส่วนสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากโดยรวม เมื่อพบว่าเหงือกมีอาการบวม การรับมือที่ถูกต้องและทันท่วงทีจะช่วยบรรเทาอาการ พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณสามารถเริ่มต้นด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ทำความสะอาดฟันและเหงือกอย่างสม่ำเสมอ
ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ ควรใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและแปรงเบา ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเหงือกบวมเป็นหนองและลุกลามได้ในที่สุด
2. ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารระหว่างซอกฟัน
ควรใช้ไหมขัดฟันที่สามารถซอกซอนบริเวณที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง เพื่อช่วยกำจัดเศษอาหารและคราบพลัคที่สะสมระหว่างซอกฟัน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียอันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เหงือกอักเสบและเกิดโรคปริทันต์
3. ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ Chlorhexidine (คลอร์เฮกซิดีน)
Chlorhexidine (คลอร์เฮกซิดีน) เป็นสารต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพข่วยลดการอักเสบของเหงือกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรใช้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เนื่องจากการใช้เป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียง เช่น คราบสีบนฟัน เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
เพราะน้ำตาลเป็นอาหารสำคัญของแบคทีเรียในช่องปาก การลดการบริโภคน้ำตาลทั้งจากอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม จะช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการอักเสบบริเวณเหงือกได้
5. พบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจและทำความสะอาดอย่างละเอียด
วิธีสุดท้ายที่ได้ผลดีที่สุด คือการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยประมาณระยะเวลาอยู่ที่ทุก ๆ 6 เดือน เพราะจะช่วยดูแลรักษาช่องปากให้มีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกัน หากพบปัญหาเหงือกบวม ปวดฟันกราม ทันตแพทย์ก็จะช่วยวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง และให้การรักษาที่เหมาะสม เช่น การขูดหินปูน หรือการรักษาเฉพาะทางได้อย่างตรงจุด
การรักษาเหงือกบวมด้วยตนเองสามารถช่วยบรรเทาอาการในเบื้องต้นได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ควรพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามเป็นโรคปริทันต์ที่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอและการตรวจฟันเป็นประจำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและรักษาปัญหาเหงือกบวมในระยะยาว
ตรวจสุขภาพเหงือกและฟันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหงือกบวม รวมไปถึงแก้ไขปัญหาฟันคุดได้อย่างมั่นใจ เพียงใช้บริการคลินิกทันตกรรม ดิไอวรี่ ที่ดำเนินการโดยทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญการด้านช่องปากและฟัน พร้อมตรวจวินิจฉัย และให้การดูแล ตลอดจนการจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาฟันคุด รวมถึงช่องว่างที่ทำให้เกิดการสะสมของสิ่งไม่พึงประสงค์ได้อย่างปลอดภัย
มองหาคลินิกจัดฟันที่ปลอดภัยในกรุงเทพฯ ต้องคลินิกทันตกรรม ดิไอวรี่ การันตีผลลัพธ์ฟันสวยที่คุ้มค่า คุ้มราคา จนคุณสามารถเผยรอยยิ้มสดใสได้อย่างมั่นใจ สามารถติดต่อสอบถามและนัดหมายล่วงหน้าได้ทาง LINE @theivorydental (มี @ ด้วย) หรือ โทร. 02-275-3599, 094-968-4294 พร้อมเปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง:
- Chlorhexidine. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 จาก https://www.nhs.uk/medicines/chlorhexidine/